คดีหมิ่นประมาทในสังคมออนไลน์
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่จำกัด การสื่อสารเกิดขึ้นตลอดเวลา ความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง แน่นอนที่สุดเมื่อมีการสื่อสารย่อมมีความความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม ตามมา
แต่แสดงออกทางความคิดผ่านโลกออนไลน์ก็ต้องมีขอบเขตการกล่าว บิดเบือนข้อมูล การแต่งเติมสีสัน ตัดต่อภาพ เสียง วีดีโอ แล้วนำแชร์ในโลกออนไลน์ จึงต้องระมัดระวัง เพราะอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีการใส่ความ คำว่า ” ใส่ความ ” คือ เอาความไปใส่เขา ซึ่งอาจเท็จหรือจริงก็ได้ ไม่ใช่จริงไม่ผิด เท็จผิด หลักศาลจึงว่า ” ยิ่งจริง ยิ่งผิด “วิธีใส่ความคือ แสดงข้อความให้ปรากฎด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น พูด เขียน วาด ใช้น้ำเสียง บอกใบ้ ทำกริยาท่าทาง ฯลฯ ถือเป็นการใส่ความหมดความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่จำเป็นต้องมีผลเสียหายเกิดขึ้นจริงจากการใส่ความ แค่ “ความที่ใส่” น่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ก็เป็นความผิด การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ต้องใส่ความต่อ "บุคคลที่สาม" ด้วย ดังนั้น การด่ากันต่อหน้าเพียงสองคนยังไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา 393 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษ และโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเสียหาย:เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล การพิจารณาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำหมิ่นประมาทนั้น ว่าเป็นการเสียเกียรติ เสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นหรือไม่ พิจารณาจากความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปมิใช่จากความรู้สึกของคนที่กระทำหรือถูกกระทำ
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทําโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทําให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทําโดยการกระจายเสียง หรือการ กระจายภาพ หรือโดยกระทําการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"
ถ้าหากการหมิ่นประมาททำผ่านสื่อไม่ว่า สื่อประเภทใดๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter, Line ,Website ก็จะต้องใช้มาตรา 328 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เมื่อเป็นการ "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา" ก็จะมีโทษเพิ่มสูงขึ้น คดีหมิ่นประมาทส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะกระทำผ่านสื่ออย่างใดอย่าหนึ่ง และเมื่อมาตรา 326 ถูกหยิบมาใช้ ก็มักจะมาคู่กันกับมาตรา 328 ด้วย
อย่างไรก็ดี ความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา ยังมีข้อยกเว้นอยู่มาก เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย ดังนี้
มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท"
นอกจากนี้ในมาตรา 330 ยังยกเว้นให้อีกชั้นหนึ่งสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และเป็นการพูดความจริง หรือเป็นกรณีที่ผู้ที่พูดนั้นเชื่อโดยสุจริตว่า สิ่งที่พูดเป็นความจริง ถ้าหากแสดงความคิดเห็นภายในกรอบนี้แม้จะเป็นความผิดแต่ก็ไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่า เป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน"
การดำเนินคดี มี ๒ วิธี
๑. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สอบสวนเสร็จก็จะส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ พิจารณาว่าจะฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่
๒. จ้างทนายมาฟ้องคดีเอง …ซึ่งจะเป็นวิธีการที่รวดเร็วทันใจกว่า
หลักฐานที่ใช้ดำเนินคดี
ให้ใช้โปรแกรมจับภาพหน้าจอ ถ่ายภาพนิ่งหรือภาพวีดีโอ ส่วนที่เป็นข้อความหมิ่นประมาท และบันทึกไว้ทั้งหน้า Facebook ,Line Twitter ,Website ด้วย