หลักเกณฑ์ในการพิจารณาบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวจะมีสิทธิถือที่ดินได้หรือไม่ มีดังนี้
1. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายคนต่างด้าว ขอได้มาซึ่งที่ดิน
ระหว่างที่สมรสกับคนต่างด้าวนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.1 กรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย นำเงินที่สิน
สมรสมาซื้อ ที่ดินนั้นย่อมเป็นสินสมรสระหว่างหญิงไทยผู้รับโอนกับสามี
ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ทำให้สามีมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินนั้นร่วมด้วย อันเป็น
การได้ที่ดินมาโดยฝ่าฝืนมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีเช่นนี้
หญิงไทยที่มีสามีเป็นคนต่างด้าวนั้นไม่สามรถจะซื้อที่ดินได้ เว้นแต่หญิงไทย
ที่มีสามีเป็นคนต่างด้าวจะขอซื้อที่ดินในฐานที่เป็นสินส่วนตัวของตน โดยมี
หลักฐานที่แสดงชัดแจ้งว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือเป็นเงิน
ส่วนตัวของตน ตามนัยมาตรา 1471 และมาตรา 1472 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ แต่เพียงฝ่ายเดียวและในการซื้อที่ดินดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการ
หลีกเลี่ยงกฎหมายที่ดิน กรณีดังกล่าว หญิงไทยนั้นก็มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินได้
1.2 กรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวขอรับให้ที่ดินโดยเสน่หาในฐานะที่เป็น
สินส่วนตัว ตามนัยมาตรา 1471 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในระหว่างที่สมรสกับคนต่างด้าวนั้น หากพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว
ไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมายก็สามารถที่จะรับโอน ที่ดินแปลงนั้นได้
โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการขอซื้อที่ดินข้างต้นแต่หากเป็นกรณีรับให้ที่ดิน โดยมี
ข้อกำหนดว่า ให้เป็นสินสมรส หญิงไทยที่มีสามีเป็นต่างด้าวดังกล่าวนั้นก็
ไม่สามารถที่จะรับให้ ที่ดินนั้นได้ในทางกลับกันหากมีกรณีคนไทยมีภริยาโดย
ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอได้มา ซึ่งที่ดินทำนองเดียวกับที่กล่าวมา
ก็ใช้หลักในการพิจารณาตามนัยเดียวกัน
2. กรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอได้มาซึ่งที่ดินระหว่าง
ที่อยู่กิน ร่วมกันฉันสามีภรรยากับคนต่างด้าว
2.1 กรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอซื้อที่ดิน
โดยนำเงิน ที่ทำมาหาได้ รวมกันกับสามีซึ่งเป็นคนต่างด้าวมาซื้อที่ดินที่ซื้อมานั้น
ย่อมเป็นทรัพย์สิน ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้น สิทธิในทรัพย์สินดังกล่าว
ย่อมเป็นของบุคคลทั้งสองร่วมกัน จึงทำให้คนต่างด้าวเป็นเจ้าของที่ดินร่วมด้วย
และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิขอแบ่งได้ กรณีเช่นนี้หญิงไทยนั้นก็ไม่อาจจะซื้อที่ดิน
ได้และหากเป็นกรณีคนไทยมีภริยาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นคนต่างด้าว
ขอได้มาซึ่งที่ดินตามนัยดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาตามนัยเดียวกันเว้นแต่บุคคล
ดังกล่าว จะแสดงหลักฐานโดยชัดแจ้งได้ว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินนั้นเป็นสินส่วน
ตัวของตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้นำเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาซื้อที่ดิน และ
การซื้อที่ดินดังกล่าวไม่ปรากฏพฤติการณ์ หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือจะซื้อที่ดิน
เพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว บุคคลนั้นก็มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินได้
2.2 กรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอรับให้ที่ดิน
โดยเสน่หา ที่ดินดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นสินสมรสของผู้รับให้หากผู้รับให้พิสูจน์
ได้ว่า การรับให้ที่ดินดังกล่าว เป็นการรับให้มาแต่เพียงฝ่ายเดียว สามีซึ่งเป็น
คนต่างด้าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและมิใช่เป็นกรณี ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย
ก็สามารถรับโอนที่ดินดังกล่าวได้ ในทางกลับกันหากมีกรณีคนไทยมีภริยา
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นคนต่างด้าว ขอซื้อหรือรับให้ที่ดินตามนัยดังกล่าว
ก็ให้พิจารณาตามนัยเดียวกัน